ติดตั้งระบบไฟอลาม Fire alarm
การติดตั้งระบบไฟอลาม การติดตั้งระบบ Fire alarm
ตำแหน่งติดตั้งระบบไฟอลาม ทั่วไป
ทุกพื้นที่ป้องกันต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับ เว้นแต่พื้นที่นั้นต้องพิจารณาเฉพาะกรณี เช่น พื้นที่ออกแบบเพื่อป้องกันทรัพย์สิน , พื้นที่ได้รับการยกเว้น
ส่วนพื้นที่ออกแบบเพื่อป้องกันชีวิต เช่น พื้นที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหลับนอน และเส้นทางหนีไฟแบบปิด เป็นต้น ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันเท่านั้น
ตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับ ให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนี้
พื้นที่แบ่งส่วนโดยกำแพง ผนัง หรือชั้นวางของ ที่ขอบบนอยู่ต่ำจากเพดานน้อยกว่า 300 มิลลิเมตร หรือไม่เกินร้อยละ 15 ของความสูงฝ้าเพดาน
ให้ถือว่าเป็นผนังกั้นห้องแยกกัน ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับแยกในแต่ละห้องนั้น
จุดที่ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับต้องมีพื้นที่โล่งโดยรอบในรัศมีอย่างน้อย 500 มิลลิเมตร ทั้งด้านข้างและด้านล่างของอุปกรณ์ตรวจจับนั้น
ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับในจุดที่สามารถมองเห็นได้จากทางเข้าพื้นที่ป้องกันนั้น ๆ
ตำแหน่งติดตั้งในสถานที่เฉพาะ ระบบส่งลมเย็นในระบบปรับอากาศ สำหรับแต่ละพื้นที่ หรือแต่ละชั้นของอาคาร หากไม่มีอุปกรณ์ตรวจจับควัน
ที่ต่อพ่วงมายังระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้แล้ว ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศในท่อลม ที่แยกวงจรโซนตรวจจับออกต่างหาก
โดยมีเครื่องหมายแสดงอุปกรณ์ตรวจจับที่บริเวณใกล้เคียงกับตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์นั้นอย่างถาวร และจะต้องแสดงผลสภาวะการทำงานที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนที่ตัวอุปกรณ์หรือการแสดงผลระยะไกล โดยมีข้อกำหนดติดตั้งดังต่อไปนี้
ระบบท่อลมกลับ อาคารที่มีระบบส่งลมเย็นใช้งานมากกว่าหนึ่งห้อง ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน ชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศในท่อลม อย่างน้อยหนึ่งชุด ที่จุดรวมลมกลับสำหรับแต่ละชั้นของอาคาร
ท่อจ่ายลมเย็น เครื่องส่งลมเย็นที่จ่ายลมมากกว่าหนึ่งชั้นภายในอาคาร ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดสุ่มตัวอย่างอากาศในท่อลม ใกล้เครื่องส่งลมเย็นมากที่สุด
พื้นที่ปิด พื้นที่ปิดถือเป็นพื้นที่ป้องกันซึ่งต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับ โดยต้องเตรียมช่องทางเข้าพื้นที่ขนาดไม่เล็กกว่า 600 x 600 ตารางมิลลิเมตร ที่บุคคลสามารถเข้าไปทำการบำรุงรักษาในพื้นที่นั่นได้ เว้นแต่จะเป็นพื้นที่ได้รับยกเว้นการป้องป้องกัน
บริภัณฑ์ไฟฟ้า พื้นที่ปิดที่มีหลอดไฟแสงสว่างหรือบริภัณฑ์ไฟฟ้าทั้งชุดติดตั้งอยู่ภายในซึ่งต่ออยู่กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าที่ไม่ใช่แรงดันต่ำมาก ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับบนเพดานของพื้นที่ปิดโดยมีระยะห่างตามแนวนอนจากบริภัณฑ์ไฟฟ้านั้นไม่เกิน 1.50 เมตร
ยกเว้น ไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับในพื้นที่ปิดที่มีบริภัณฑ์ไฟฟ้า ดังต่อไปนี้ติดตั้งอยู่
หลอดแสงสว่างที่มีพิกัดไม่เกิด 100 วัตต์ หรือบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวได้มีพิกัดไม่เกิน 100 วัตต์ หรือบริภัณฑ์ไฟฟ้าชนิดติดตั้งถาวรมีพิกัดไม่เกิน 500 วัตต์ และการเดินสายไฟฟ้าได้มาตรฐานติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยกำหนด
โคมไฟฟ้าขนิดติดตั้งฝังในฝ้าเพดานที่มีเรือนหุ้มเป็นวัสดุที่ไม่ติดทนไฟ ไม่ถือเป็นบริภัณฑ์ไฟฟ้าของพื้นที่ปิดเหนือฝ้าเพดาน
การแสดงผลระยะไกล สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับที่ติดตั้งในพื้นที่ปิด ต้องติดตั้งดวงไฟแสดงระยะไกล ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ชัดเจน และระบุตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับได้ชัดเจน
ยกเว้นพื้นที่ปิดที่เข้าถึงได้สะดวก และเป็นไปตามข้อกำหนดใด ข้อกำหนดหนึ่ง ดังต่อไปนี้
พื้นที่ซึ่งมีความสูงเกิน 2 เมตร , อุปกรณ์ตรวจจับอัตโนมัตินั้นเป็นแบบระบุตำแหน่งได้ , อยู่ใต้พื้นที่ซึ่งสามารถเปิดออกได้ เช่น พื้นห้องคอมพิวเตอร์ โดยมีป้ายระบุชนิดและตำแหน่งอุปกรณ์ตรวจจับ ติดไว้ที่เพดานเหนือตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่อยู่ใต้พื้นนั้น
ตู้ชั้นวางของ ตู้เก็บของ หรือตู้ชั้นวางของใด ๆ มีพื้นที่มากกว่า 2.0 ตารางเมตร บุคคลสามารถเดินเข้าไปได้ หรือใช้เก็บวัสดุที่ติดไฟได้ ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับภายในตู้
พื้นที่แนวราบคั่นกลาง ต้องติดอตั้งอุปกรณ์ตรวจจับใต้พื้นผิวแนวราบคั่นกลาง เช่น ท่อส่งลม ชั้นเก็บของ และชั้นลอยเป็นต้น ที่อยู่สูงกว่าระดับพื้นห้องเกิน 800 มิลลิเมตร และมีความกว้างเกิน 3.50 มิลลิเมตร
หากใต้พื้นผิวแนวราบคั่นกลางห่างจากเพดานบนน้อยกว่า 800 มิลลิเมตร ให้ถือว่าใต้พื้นผิวแนวราบคั่นกลางนั้นเป็นเพดานบนได้
หากด้านข้างของท่อส่งลมหรือโครงสร้างของท่ออยู่ห่างจากผนัง หรือท่อส่งลมหรือโครงสร้างของท่อข้างเคียงมากกว่า 800 มิลลิเมตร ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่จุดซึ่งเข้าถึงได้บนเพดาน
พื้นที่ปิดที่อยู่เหนือพื้นผิวแนวราบคั่นกลาง เช่น ท่อลมที่อยู่เหนือฝ้าเพดานช่องทางเดิน หรือพื้นที่ปิดที่อยู่ใต้พื้นผิวแนวราบคั่นกลาง เช่น ท่อลมที่อยู่ใต้พื้นทางเดินยกระดับเป็นเพิ้นที่ยกเว้นการป้องกัน
หลังคาหรือเพดานหน้าจั่วหรือทรงหยัก (พื้นที่เอียง) หลังคาหรือเพดานที่มีโครงสร้างแบบหน้าจั่วหรือทรงหยัก หากติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับอัตโนมัติชนิดจุด ต้องติดแถวแรกในแนวขนานกับสันหลังคา
โดยมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับและตำแหน่งที่ติดตั้งเป็นไปตามที่กำหนด
ประตูเข้าพื้นที่ป้องกัน ประตูที่ใช้แยกพื้นที่ป้องกันและไม่ป้องกันออกจากกัน นอกเหนือจากการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับในพื้นที่ป้องกันตามมาตรฐานกำหนดแล้ว หากมีอุปกรณ์รั้งประตูให้สามารถเปิดค้างได้
ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันอย่างน้อย 1 ชุด และ สวิตซ์เพื่อปลดการรั้งประตู 1 ชุดด้านพื้นที่ป้องกัน ห่างจากประตูไม่เกิน 1.50 เมตร เพื่อควบคุมปลดการรั้งประตูให้ปิดสกัดการแพร่กระจายควันหรืออัคคีภัย
ฝ้าเพดานตะแกรง ฝ้าเพดานที่มีพื้นที่โปร่งอย่างน้อย 2 ส่วนใน 3 ส่วน ของพื้นที่ฝ้าทั้งหมด เป็น ตะแกรงที่อากาศไหลผ่านถ่ายเทได้ ให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับที่เพดานบนเหนือฝ้าได้โดยไม่ต้องติดตั้งกับฝ้าตะแกรงนั้น
ฝ้าเพดานตะแกรงในข้อแรก หากมีพื้นที่ส่วนทึบที่มากกว่า 5 ตารางเมตร และกว้างมากกว่า 2 เมตร ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับเพิ่มที่ฝ้าส่วนทึบนั้นด้วย
หากติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับเปลวเพลิง ต้องติดตั้งทั้งด้านบนและด้านล่างของฝ้าเพดานตะแกรง
พื้นที่หวงห้าม อุปกรณ์ตรวจจับที่ติดตั้งในพื้นที่หวงห้าม สำหรับระบบสามัญ ต้องแยกโซนตรวจจับออกจากพื้นที่ทั่วไป หรือติดตั้งดวงไฟแสดงผลระยะไกลที่ด้านหน้าทางเข้าพื้นที่หวงห้ามนั้น
ห้องพักเดี่ยว ห้องพักที่ประกอบด้วยหนึ่งห้องหลักและมีห้องน้ำในตัว ผนังห้องเป็นวัสดุไม่ติดไฟ หากพื้นที่ของห้องพักรวมห้องน้ำน้อยกว่า 46 ตารางเมตร สามารถติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันในห้องหลักเพียงชุดเดียวได้
อุปกรณ์ตรวจจับควันที่ติดตั้งในแต่ละห้องพักเดี่ยว สำหรับระบบสามัญ ต้องแยกวงจรโซนตรวจจับเป็นห้องละโซน หรืออาจรวมหลายห้องเป็นโซนเดียวกันได้หากติดตั้งดวงไฟแสดงผลระยะไกลที่ด้านหน้าทางเข้าห้องพักแต่ละห้อง
ช่องบันได ช่องบันไดที่ปิดล้อมทนไฟ ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันภายในช่องบันไดที่เพดานของชั้นบนสุดของช่องบันได และติดที่เพดานของชานพักบันไดที่ต่อเนื่องกับพื้นที่ป้องกันแต่ละชั้นของอาคาร แต่ไม่ต้องติดที่เพดานของพักบันไดที่อยู่ระหว่างชั้น
ช่องเปิดแนวดิ่ง ปล่องที่อยู่ในแนวดิ่งทะลุระหว่างชั้นในอาคาร เช่น ปล่องลิฟต์ ปล่องท่อระบบไฟฟ้า เป็นต้น ที่มีพื้นที่ช่องเปิดในแนวดิ่งที่แต่ละชั้นมากกว่า 0.1 ตารางเมตร ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันที่ด้านบนสุดภายในปล่องนั้น และที่ตำแหน่งเฉพาะดังนี้
พื้นที่ช่องเปิดแนวดิ่งที่ไม่มีการปิดล้อมทนไฟ เช่น ประตูลิฟต์ ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันที่เพดานโถงลิฟต์ ห่างจากผนังด้านประตูลิฟต์ หรือช่องเปิดนั้นไม่เกิน 1.50 เมตร แต่หากโถงลิฟต์มีเพดานสูงกว่า 4.60 เมตร ให้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควัน
ที่ผนังเหนือประตูลิฟต์ห่างประตูไม่เกิน 1.50 เมตร
ช่องเปิดโล่งระหว่างชั้นที่มีขนาดเกิน 9 ตารางเมตร เช่น โถงเปิดในอาคารที่มีทางเดินโดยรอบช่องเปิด ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันโดยรอบช่องเปิด ดังนี้
ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับห่างจากขอบช่องเปิดไม่เกิน 1.50 เมตร เว้นแต่บริเวณที่ขอบช่องเปิดอยู่ห่างจากผนังน้อยกว่า 0.50 เมตร ไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับ
ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับรองช่องเปิดต้องไม่เกิน 9.10 เมตร
ทางเดินเชื่อมอาคารที่มีผนังและหลังคาปิดหมด มีระยะยาวมากกว่า 3 เมตร โดยในระยะ 3 เมตร จากอาคารป้องกัน มีช่องเปิดระบายอากาศขนาดไม่เกินร้อยละ 10 ของพื้นที่ผนังทั้งหมด ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันอย่างน้อย 1 ชุด
ในทางเดินดังกล่าวห่างจากพื้นที่ป้องกันไม่เกิน 1.50 เมตร เว้นแต่ทางเดินเชื่อมนั้นกำหนดเป็นพื้นที่ป้องกันซึ่งต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันในพื้นที่อยู่แล้ว
ช่องเปิดที่ฝ้าเพดาน ฝ้าเพดานในพื้นที่ป้องกันที่กำหนดให้ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับ หากมีช่องเปิดที่ฝ้าเพดานแต่ไม่ทะลุพื้นระหว่างชั้นและไม่มีฝาปิด จะต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
ช่องเปิดฝ้าที่ลึก 800 มิลลิเมตร หรือมากกว่าต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับในช่องเปิดฝ้านั้นด้วย
ช่องเปิดฝ้าเพดานที่ลึกน้อยกว่า 800 มิลลิเมตร และสภาพภายในช่องเปิดฝ้าไม่เอื้อให้เพลิงหรือควันแพร่กระจายข้ามผนังกั้นแบ่งพื้นที่ต้นเพลิงไปยังพื้นที่หรือห้องอื่นได้ก่อนที่อุปกรณ์ตรวจจับจะทำงานเริ่มสัญญาณ ไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับในช่องเปิดฝ้านั้น
พื้นที่ยกเว้นป้องกัน พื้นที่ที่ประเมินความเสี่ยงอัคคีภัยต่ำ สามารถยกเว้นการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับได้ เช่น
พื้นที่อับอากาศ เปิดเข้าพื้นที่ป้องกันได้ ไม่มีบริภัณฑ์ไฟฟ้าอยู่ภายใน ไม่ใช้เก็บของ และไม่มีชั้นวางของ
พื้นที่ปิด พื้นที่เล็กกว่า 3 ตารางเมตร และสูงน้อยกว่า 800 มิลลิเมตร ไม่มีบริภัณฑ์ไฟฟ้าและไม่ได้ใช้เก็บของ
พื้นที่ไม่มีทางเข้า ปิดล้อมด้วยผนังทนไฟอย่างน้อย 60/30/15
พื้นที่ไม่มีทางเข้า สูงน้อยกว่า 350 มิลลิเมตร ในทุกแบบ และลักษณะของโครงสร้าง
ทางเดินมีหลังคา ทางเดินที่ด้านข้างเปิดโล่งสู่ภายนอกอาคาร ไม่ใช้วางของ เช่น ระเบียง เฉลียง และทางเดินเชื่อมอาคารเป็นต้น หรือที่จอดรถที่มีกันสาดที่สร้างด้วยวัสดุไม่ติดไฟไม่ลามไฟ
ช่องแสงที่เพดานบน ช่องแสงในพื้นที่ไม่ต้องป้องกัน มีพื้นที่เล็กกว่า 0.15 ตารางเมตร และอาจใช้สำหรับระบายอากาศด้วย , มีพื้นที่เล็กกว่า 1.5 ตารางเมตร และไม่ได้ใช้สำหรับระบายอากาศ , มีพื้นที่เล็กกว่า 4 ตารางเมตร สูงไม่เกิน 800 มิลลิเมตร ไม่ได้ใช้ระบายอากาศ
ห้องโถง เฉพาะโถงหน้าบันไดชั้นล่างของอาคาร และโถงหน้าห้องน้ำ
ห้องน้ำห้องสุขา ห้องน้ำที่มีพื้นที่น้อยกว่า 3.5 ตารางเมตร และไม่ได้เปิดไปสู่พื้นที่ป้องกันทั้งนี้ไม่รวมถึงห้องน้ำ ห้องสุขาในอาคารโรงพยาบาล หรือ อาคารสาธารณะ
ตู้เก็บของ หรือตู้ชั้นวางของขนาดเล็ก ที่มีพื้นที่วางของไม่เกิน 1 ตารางเมตร
พื้นที่ติดตั้งระบบดับเพลิงด้วยหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ เฉพาะพื้นที่ป้องกันทรัพย์สิน ที่ติดตั้งระบบดับเพลิงด้วยหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ ที่มาตรฐานกำหนด สามารถยกเว้นการติดตั้งเฉพาะอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนชนิดจุดได้
สนใจสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ Fire Alarm Nohmi หรือต้องการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัย ติดตั้งระบบสัญญาณเตือนไฟไหม้
ติดต่อ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอฟ โปรเฟสชั่นแนล จำกัด
โทร. 099-3897888 , 063-0090945
Line id : double-ff
Email : sale@double-f.co.th
ุ
ุ
ุ